วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


ระบบทางเดินปัสสาวะ

           
           อวัยวะซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างและขับถ่ายปัสสาวะประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง อันได้แก่ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะดังรายละเอียดคือ กระเพาะปัสสาวะตั้งอยู่ที่ท้องน้อยในอุ้งเชิงกรานด้านหลังของกระดูกหัวเหน่า ซึ่งในผู้ชายจะอยู่ข้างหน้าทวารหนัก ในผู้หญิงอยู่ข้างหน้าตรงบริเวณด้านหน้าของช่องคลอด และคอมดลูก  ลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยกล้ามเนื้อดีทรูเซว (Detrusor) 3 ชั้น ชั้นในและชั้นนอกเรียงตัวตามยาวส่วนชั้นกลางเรียงตัวเป็นวงกลมผนังด้านในสุดของกระเพาะปัสสาวะมีรอยย่น (Rugae) ซึ่งทำให้สามารถยืดขยายรองรับน้ำปัสสาวะได้มากขึ้นกระเพาะปัสสาวะมีช่องเปิด 3 ช่อง คือ ช่องบน 2 ช่อง เป็นที่เปิดของท่อไต อีก 1 ช่อง เปิดด้านล่างเป็นที่ตั้งต้นของท่อปัสสาวะ ซึ่งผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะตรงบริเวณรูเปิดทั้ง 3 แห่งนี้จะเกิดเป็นแอ่งรูปสามเหลี่ยม และเป็นบริเวณที่ไม่มีการหดหรือขยายตัวตามปริมาณของปัสสาวะบริเวณส่วนล่างของกระเพาะปัสสาวะตรงคอคอดกับท่อปัสสาวะส่วนต้นมีกล้ามเนื้อหูรูด    ทำหน้าที่เป็นหูรูดชั้นในปิดกั้นไม่ให้ปัสสาวะไหลออกมา ความจุของกระเพาะปัสสาวะมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลและวัยสำหรับผู้ใหญ่ประมาณ 150-500 มล.  จะกระตุ้นให้รู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ แต่ก็พบได้ว่ากระเพาะปัสสาวะสามารถขยายรับน้ำปัสสาวะได้มากถึง 1,000-3,000 มล โดยไม่มีการขับถ่ายออกทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยืดตัวออกมากจนไม่สามารถบีบตัวได้จึงถ่ายปัสสาวะไม่ออกในที่สุดกระเพาะปัสสาวะอาจไม่สามารถบีบตัวเหมือนดังเดิมอีกต่อไปหรืออาจแตกเป็นอันตรายได้

รูปที่1 แสดงระบบขับถ่ายปัสสาวะ



รูปที่2 แสดงระบบขับถ่ายปัสสาวะ

1.1 ระบบขับถ่ายปัสสาวะเพศหญิง  เพศหญิง ท่อปัสสาวะยาวประมาณ 11/2 – 2 นิ้ว ตั้งอยู่ด้านหลังของกระดูกหัวเหน่าและติดอยู่กับผนังด้านหน้าของช่องคลอด และมีรูเปิดอยู่ระหว่างปุ่มกระสัน (clitoris) กับช่องคลอดมีหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย บริเวณตรงกลางของท่อปัสสาวะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกช่วยในการควบคุมหรือกลั่นการถ่ายปัสสาวะ
รูปที่3 แสดงระบบขับถ่ายเพศหญิง



ที่มา  http://www.bcnu.ac.th/e-learning1/index.php?option=com_content&view=article&id=46&Itemid=54

วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556


ระบบทางเดินหายใจ


           ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่
สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใบ


ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามโครงสร้าง

ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract, URI) : ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียงขึ้นไป ได้แก่ จมูก, คอหอย เป็นต้น โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบนเช่น URI infection หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract, LRI) : ประกอบด้วย กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่ และปอด

ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามหน้าที่

หน้าที่นำอากาศ : มีหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ปอด เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ได้แก่ จมูก, คอหอย, กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่, หลอดลมฝอย, และปลายหลอดลมฝอย
หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส : เป็นบริเวณที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนกับเนื้อเยื่อ ได้แก่ หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส, ท่อลม, ถุงลม, ถุงลมฝอย
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ

กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบผนังทรวงอก โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากตามปกติแล้วปอดไม่ให้สามารถขยายขนาดเพื่อรับอากาศจากการหายใจได้เอง แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแรงของกล้ามเนื้อเหล่านี้เพื่อขยายผนังของทรวงอกให้กว้างมากขึ้น และเกิดการลดลงของความดันภายในทรวงอกมากพอจนทำให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ปอดได้ โครงสร้างหลักของผนังทรวงอกได้แก่
ซี่โครง
กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง (intercostal muscles) ซึ่งมี 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (External) ชั้นใน (Internal) และชั้นในสุด (innermost)
กล้ามเนื้อกะบังลม และเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มด้านในของผนังทรวงอก เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด (Pleura) ซึ่งมีอยู่ 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (Parietal pleura) และชั้นใน (Visceral pleura) กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อรอบกระดูกหน้าอก กล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าและต้นคอ (Sternocleidomastoid และ Scalenus)




รูปภาพระบบทางเดินหายใจ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88

วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556







ระบบทางเดินอาหาร
(Digestive system)


           ระบบย่อยอาหารเกี่ยวข้องกับการย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารเมื่อสัตว์กินอาหารเข้าไปในร่างกายอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านระบบทางเดินอาหาร(gastrointestinal tract หรือalimentary tract) ในขณะที่อาหารเคลื่อนที่ผ่านระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆจะเกิดการย่อยอาหาร(digestion) ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลงจนกระทั่งสามารถดูดซึม(absorption) ผ่านเข้าระบบเลือดหรือระบบน้ำเหลืองเพื่อเข้าสู่ตับจากนั้นจึงถูกส่งไปในส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป




การย่อยอาหารในปาก

       ปากเป็นอวัยวะสำคัญเริ่มแรกสำหรับการย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นทางเข้าอาหาร ภายในปากมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลิ้น ฟันและต่อมน้ำลายการย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส เมื่ออาหารผ่านสู่กระเพาะอาหาร เอนไซม์อะไมเลสจะไม่ทำงานเพราะในกระเพาะอาหารมีกรดไฮโดรคลอริก (อะไมเลสทำงานได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือกรดเล็กน้อย และอุณหภูมิร่างกาย)

เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทำให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็กๆ มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้ำลายก็จะหลั่งน้ำลายออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน เอนไซม์ในน้ำลาย คือ ไทยาลิน หรืออะไมเลสจะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล เป็นต้น


ที่มา http://devilbio501.exteen.com/20070906/2-digestive-system

วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556









                                                                       ระบบสุริยะ           

               ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
รูประบบสุริยะ
  

 ระบบสุริยะ (Solar System)

    ระบบสุริยะที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า)   เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก   ดาวอังคาร  ดาวพฤหัส    ดาวเสาร์   ดาวยูเรนัส    ดาวเนปจูน   ดาวพลูโต และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก  เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 149 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (astronomy unit - au)  กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโตดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกลเป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย
     ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าร้อยละ 99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมาในอัตราที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี
     ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ   ดาวศุกร์  ดาวอังคาร   ดาวพฤหัส   ดาวเสาร์   ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเรา ตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์   ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส   ดาวเนปจูน    ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง  



ที่มา http://www.darasart.com/solarsystem/main.htm
วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556



                                      

                                

                                  ระบบนิเวศ (Ecosystem)


                               
                                                                       
               สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น  มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น  บางบริเวณมีแม่น้ำลำธาร  คลอง  ชายทะเล  ป่าชายเลน  และที่ราบ  เป็นต้น  มักพบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิต  (Community)

               ระบบนิเวศ  (Ecosystem)  หมายถึง  กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่  เรียกว่า  โลกของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ใน ทุก ๆ ระบบนิเวศ นั่นคือความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรง ชีวิตอยู่รอดได้สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คืออะตอม(atom)หลาย ๆ อะตอมทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็นโมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆรวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือออร์แกเนลล์(organelle)ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงานและประกอบกันเป็นเซลล์(cell)ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่าเซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่นเนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็นอวัยวะ(organ) เช่น กระดูกอวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ี่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก หลายๆระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็น สิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family) หลาย ๆ

             ครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณ หนึ่ง กลายเป็นประชากร(population)การดำรงชีวิของสิ่งมีชีวิต
การดำรงชีวิตชนิดเดียวกัน จะต้อง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหารมีที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงต้องเกิดกลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)

                                      






รูประบบนิเวศทางบก                                                                              รูประบบนิเวศทางน้ำ








ที่มา 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/ecosystem1.html
                                                               
                                                       วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556