วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


ระบบทางเดินปัสสาวะ

           
           อวัยวะซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างและขับถ่ายปัสสาวะประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง อันได้แก่ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะดังรายละเอียดคือ กระเพาะปัสสาวะตั้งอยู่ที่ท้องน้อยในอุ้งเชิงกรานด้านหลังของกระดูกหัวเหน่า ซึ่งในผู้ชายจะอยู่ข้างหน้าทวารหนัก ในผู้หญิงอยู่ข้างหน้าตรงบริเวณด้านหน้าของช่องคลอด และคอมดลูก  ลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยกล้ามเนื้อดีทรูเซว (Detrusor) 3 ชั้น ชั้นในและชั้นนอกเรียงตัวตามยาวส่วนชั้นกลางเรียงตัวเป็นวงกลมผนังด้านในสุดของกระเพาะปัสสาวะมีรอยย่น (Rugae) ซึ่งทำให้สามารถยืดขยายรองรับน้ำปัสสาวะได้มากขึ้นกระเพาะปัสสาวะมีช่องเปิด 3 ช่อง คือ ช่องบน 2 ช่อง เป็นที่เปิดของท่อไต อีก 1 ช่อง เปิดด้านล่างเป็นที่ตั้งต้นของท่อปัสสาวะ ซึ่งผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะตรงบริเวณรูเปิดทั้ง 3 แห่งนี้จะเกิดเป็นแอ่งรูปสามเหลี่ยม และเป็นบริเวณที่ไม่มีการหดหรือขยายตัวตามปริมาณของปัสสาวะบริเวณส่วนล่างของกระเพาะปัสสาวะตรงคอคอดกับท่อปัสสาวะส่วนต้นมีกล้ามเนื้อหูรูด    ทำหน้าที่เป็นหูรูดชั้นในปิดกั้นไม่ให้ปัสสาวะไหลออกมา ความจุของกระเพาะปัสสาวะมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลและวัยสำหรับผู้ใหญ่ประมาณ 150-500 มล.  จะกระตุ้นให้รู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ แต่ก็พบได้ว่ากระเพาะปัสสาวะสามารถขยายรับน้ำปัสสาวะได้มากถึง 1,000-3,000 มล โดยไม่มีการขับถ่ายออกทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยืดตัวออกมากจนไม่สามารถบีบตัวได้จึงถ่ายปัสสาวะไม่ออกในที่สุดกระเพาะปัสสาวะอาจไม่สามารถบีบตัวเหมือนดังเดิมอีกต่อไปหรืออาจแตกเป็นอันตรายได้

รูปที่1 แสดงระบบขับถ่ายปัสสาวะ



รูปที่2 แสดงระบบขับถ่ายปัสสาวะ

1.1 ระบบขับถ่ายปัสสาวะเพศหญิง  เพศหญิง ท่อปัสสาวะยาวประมาณ 11/2 – 2 นิ้ว ตั้งอยู่ด้านหลังของกระดูกหัวเหน่าและติดอยู่กับผนังด้านหน้าของช่องคลอด และมีรูเปิดอยู่ระหว่างปุ่มกระสัน (clitoris) กับช่องคลอดมีหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย บริเวณตรงกลางของท่อปัสสาวะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกช่วยในการควบคุมหรือกลั่นการถ่ายปัสสาวะ
รูปที่3 แสดงระบบขับถ่ายเพศหญิง



ที่มา  http://www.bcnu.ac.th/e-learning1/index.php?option=com_content&view=article&id=46&Itemid=54

วันพฤหัสบดี ที่31 มกราคม พศ.2556


1 ความคิดเห็น: