วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet

         Tablet คือ คอมพิวเตอร์พกพา หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ต่างกันอย่างไร
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะ ใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU   เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการ หรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC Computer หรือ PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้ หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad ) นั้นเอง




รูปภาพ Tablet








ที่มาhttp://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2012-tablet-คืออะไร.htm
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556
Social media
(1)   เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม ตรงนี้ไม่ต่างจากคนเราสมัยก่อนครับ ที่เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรขึ้นมา ก็พากันมานั่งเมาส์กันจนเกิดสภาพ Talk of the town แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ การแพร่กระจายของสื่อก็ทำได้ง่ายขึ้นโดยเกิดจากการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) จากใครก็ได้ อย่างกรณีของป้า Susan Boyle ที่ดังกันข้ามโลกเพียงไม่กี่สัปดาห์จากการลงคลิปที่ประกวดร้องเพลงในรายการ Britain’s Got Talent ผ่านทาง Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ Social media อาจจะอยู่ในรูปของ เนื้อหา รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ
(2)   เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงสื่อเดิมที่แพร่กระจายข่าวสารแบบทางเดียว (one-to-many) เป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน (many-to-many) เมื่อมีสภาพของการเป็นสื่อสังคม สิ่งสำคัญก็คือการสนทนาพาทีที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนา แม้กระทั่งตัวผู้ผลิตเนื้อหานั่นเอง เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง (อย่างกรณี Wikipedia นี้ไงครับ)
(3)   เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา จากคนตัวเล็กๆในสังคมที่แต่เดิมไม่มีปากมีเสียงอะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงคนรับสื่อ ขณะที่สื่อจำพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างมาก สามารถชี้ชะตาใครต่อใครหรือสินค้าหรือบริการใดโดยที่เราแทบจะไม่มีทางอุทธรณ์ แต่เมื่อเป็น Social Media ที่แทบจะไม่มีต้นทุน ทำให้ใครๆก็สามารถผลิตเนื้อหาและกระจายไปยังผู้รับสารได้อย่างเสรี หากใครผลิตเนื้อหาที่โดยใจคนหมู่มาก ก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพล (Influencer) ไป ยิ่งหากเป็นในทางการตลาด ก็สามารถโน้มนำผู้ติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยง่าย  
นักการตลาดหลายๆคนอาจจะมอง Social Media อย่างไม่คุ้นชิน และอาจจะปล่อยปละละเลย สนใจแต่สื่อเดิมๆ เพราะเห็นว่าเป็นสื่อที่สามารถควบคุมได้และกระจายสู่มวลชนจำนวนมาก แต่เมื่อลูกค้าของเราซื้อสินค้าหรือบริการของเราไป อาจจะเกิดการร่วมกลุ่มเพื่อทำตำหนิติติงหรือวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหากคุณทำเป็นเมินเฉย ก็เป็นไปได้ว่าเสียงออนไลน์เหล่านี้จะขยายใหญ่โตขึ้น จนกระทั่งกระทบต่อกิจการของคุณได้ในที่สุด
สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นแรงขับให้คุณจำต้องกระโจนเข้าสู่ Social Media เพื่อที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา แสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งขอความคิดเห็นต่างๆจากลูกค้า รวมไปถึงอาศัยการที่ให้ลูกค้าสร้างเนื้อหาขึ้นมาแล้วนำมาประชันขันแข่งกัน เป็นกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์ที่เห็นอยู่อย่างดาษดื่น เช่น กรณีของเถ้าแก่น้อยที่จัดกิจกรรมให้ลูกค้าได้ถ่ายรูปคู่พร้อมกับซองเถ้าแก่น้อย โดยสามารถโพสต์รูปได้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือหรือเว็บไซต์ แล้วเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมสามารถโหวตให้คะแนน โดยรางวัลเป็นโทรศัพท์มือถือ BlackBerry ที่แจก โดยผู้ชนะมาจากคะแนนโหวตและการตัดสินของคณะกรรมการ ซึ่งปรากฏผู้เข้าร่วมในกิจกรรมเป็นจำนวนมาก 
ดังนั้น Social Media จึงไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหนทางที่คุณจำเป็นต้องเดิน
          Dave Evans ผู้เขียนหนังสือ “Social Media Marketing: An Hour a Day” ได้แสดงความสำคัญของ Social Media ต่อกระบวนการซื้อสินค้าหรือบริการว่า แต่เดิม กระบวนการซื้อนั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกคือ ความตระหนัก (Awareness) ขั้นตอนต่อมาคือ การพิจารณา (Considerations) และขั้นสุดท้าย คือ การตัดสินใจซื้อ (Purchase) สื่อการตลาดแบบเดิมๆจะมุ่งตรงไปที่ การสร้างความรู้จักสินค้าและบริการ เช่น อาจจะเป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ หรือ การเร่งให้ลูกค้าพิจารณาและตัดสินใจ เช่น การให้คูปองส่วนลด เป็นต้น แต่สำหรับ Social Media เมื่อผู้บริโภคได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นแล้ว ก็จะเข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นข้อมูลอันสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค อย่างกรณี เมื่อเราเข้าไปจะซื้อหนังสือจากทาง www.amazon.com ทางเว็ปไซต์เปิดให้ผู้ที่เคยอ่านหนังสือเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์หนังสือพร้อมกับมีการให้ดาวที่เป็นเสมือนคะแนนวัดความน่าซื้อของหนังสือ ซึ่งการวิพากษ์หนังสือดังกล่าว เปิดให้ลูกค้าสามารถกระทำได้อย่างเสรี และถือเป็นข้อมูลชั้นดีในการตัดสินใจว่าจะซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่
            นั้นหมายความถึง Amazon.com เข้าใจสื่ออย่าง Social Media อย่างลึกซึ้งและนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการขายได้อย่างตรงไปตรงมา



รูปภาพ Social media











ที่มาhttp://www.doctorpisek.com/pisek/?p=694
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556

Video conference

รู้จักกับ Video Conference

      การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร 
ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน

ความหมาย 

การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ 

ความสำคัญ 

Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและ
ค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง 

การติดตั้งระบบ Video Conference

ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้ 

1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม 
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ 
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น 
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และจอบันทึกการประชุม 
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 - 300,000 บาท (สำหรับระบบขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ หลักเบื้องต้นการติดตั้ง มีดังนี้ 

1.เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec-Network-กล้องเสริม-จอ
โทรทัศน์-Projector-เครื่องนำเสนอ-Computer-เครื่องบันทึก-ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน) 
2.เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network (ขั้นตอนนี้ต้องประสานกับฝ่าย Network เพื่อ Config IP ให้กับ 
Codec)
3.ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ ทำ การติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่ง

อุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล 

1.กล้องจะต้องวางในตำแหน่งท้ายโต๊ะประชุม และอยู่กึ่งกลางห้องประชุม ยึดหลักให้สามารถจับภาพผู้เข้า ประชุมได้ทุกคน แต่หากมีปัญหาเรื่องพื้นที่ ไม่สามารถวางตำแหน่งดังกล่าวได้ แก้ไขโดยเพิ่มกล้องเสริม และ เปลี่ยนตำแหน่งจับภาพกล้องละด้าน เช่น กล้องหลักวางด้านซ้าย กล้องเสริมวางด้านขวา จำไว้ว่ากล้อง 2 ตัว ต้องแบ่งหน้าที่อิสระจากกัน จับภาพด้านของตัวเองเท่านั้น 
2.ลำโพงเสียง กรณีเป็นชุดประชุม ลำโพงจะติดที่ไมโครโฟน ไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ เพราะจะอยู่บนโต๊ะ (การแก้ปัญหาเสียงหอน ใช้เทคนิคการปรับแต่งเสียง) แต่กรณีเป็นระบบเสียงแยกอิสระ ลำโพง ควรอยู่ไกล ตำแหน่งไมค์ให้มากที่สุด และอยู่สูง หันทิศทางให้กระจายเสียงได้ทั่วห้องประชุม เพื่อแก้ปัญหาทางเสียงได้ดี ที่สุด 
3.อุปกรณ์เครื่องนำเสนอต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องทึบแสง เป็นต้น เหล่านี้ไม่ค่อยมีปัญหาจะจัดตาม หลักการจัดห้องประชุมอยู่แล้ว 
4.อุปกรณ์ชุดควบคุมเสียงและระบบบันทึกภาพ ควรอยู่ด้วยกัน เพื่อสามารถควบคุมได้ทันท่วงที 
ขั้นตอนการทำงานของระบบเริ่มจากการแปลงสัญญาณภาพและเสียงจากระบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลแล้วส่งไปถึงผู้รับ จากนั้นอุปกรณ์สื่อสารของผู้รับก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นภาพและเสียงให้ผู้ชมเห็น
และได้ยิน สำหรับภาพที่เห็นนั้นอาจติดตั้งให้ภาพปรากฏบนจอรับภาพในห้องประชุมก็ได้ หรืออาจสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและกระเป๋าหิ้ว ซึ่งทำให้การประชุมสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 

สรุปและบทบาท 

การประชุมทางไกล การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ การประชุมทางไกลโดยการจัดอุปกรณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันสามารถประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดยใช้อุปกรณ์ สื่อสาร เราเรียกการประชุมแบบนี้ว่า Teleconference ในกรณีที่การประชุมนั้นมีอุปกรณ์ที่ทำให้เห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกันด้วยเราเรียก Video Conference มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ กล้อง ไมโครโฟน และจอรับภาพ สำหรับประเทศไทยได้มีหน่วยงานทั้งภาพรัฐและเอกชนที่ให้บริการในลักษณะ Video Conference เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย โรงแรมบางแห่งและบริษัทผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะทำให้บริการ
ประชุมทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล หรือ ISDN ซึ่งเป็นเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกันคนละระบบ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วขึ้น การประชุมแบบจอภาพ Video Conference ผ่านระบบเครือข่ายISDN จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารทางไกลกับอีกซีกโลกหนึ่งในลักษณะมัลติมีเดียได้อย่างครบถ้วนในเวลาเดียว จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและพัฒนาธุรกิจให้รุดหน้าได้เร็ว การกระจายข้อมูล การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน บริการแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน (synchronous) คล้ายกับบริการแบบถ่ายทอดสารสนเทศ ที่กำหนดให้ผู้สื่อสารต้องส่งและรับสารในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามรูปแบบของบริการนี้ การสื่อสารจะเป็นแบบสมมาตร (symmetric)หรือสามารถโต้ตอบกันได้ (interactive) นั่นเอง จะว่าไปแล้ว การสื่อสารแบบนี้คล้ายกับการสื่อสารด้วยการสนทนาในอดีต หากแต่ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางเท่านั้น เราจึงมักพบคำที่ชี้ถึง "ระยะทางไกล" ในบริการประเภทนี้ เช่น การสาธารณสุขวิถีไกล (telemedicine) การศึกษาวิถีไกล (remote learning) หรือ โทรสัมมนา (teleconference) เป็นต้น 




รูปภาพการใช้งาน Video conference











ที่มาhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2538df7ac1d0a318
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556
Webquest
 WebQuest   คือ  บทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบของสื่อการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่เบอร์นี่ ด็อจ (Bernie Dodge) แห่ง San Diego State University สหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะขั้นสูงในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  ที่มีอยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยกิจกรรมบนบทเรียนเป็นตัวเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และต้องการสืบเสาะค้นหาข้อมูล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในรูปแบบของการตั้งสมมติฐานและสมมติสถานการณ์   โดยการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าต่อเนื่องไปได้ไม่รู้จบ ตามความสนใจของผู้เรียน แต่ละคน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับกิจกรรม  นอกจากนี้ได้มีผู้ให้คำนิยามรวมถึงความหมายของบทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) ไว้ซึ่งสามารถสรุปได้คือ เป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐานโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการฝึกนิสัย  และทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ บนระบบอินเตอร์เน็ต  (Dodge, 1995 ; Owen, 1999 และวสันต์ อติศัพท์, 2546)  รูปแบบการเรียนด้วยบทเรียนการแสวงรู้บนเว็บนี้ ยังจะช่วยเพิ่มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) และการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้ที่ได้จากการสืบค้นมาวิเคราะห์ซึ่งเป็นจุดหลักที่สำคัญของการศึกษาในปัจจุบันที่ไม่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำแต่เน้นความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการและวิเคราะห์ออกมาเป็นความรู้ของตนเองหรือที่เรียกว่า การสร้างองค์ความรู้โดยผู้เรียนเอง (Yates ,2003 ในชาคริต อนันตวัฒนวงศ์, 2549) กล่าวว่า เว็บเควสท์ (WebQuest)  เป็นการให้ประสบการณ์โดยตรงแก่ผู้เรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง แล้วให้ผู้เรียนเข้าหาข้อมูล เนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์การเรียนรู้นั้นๆ  วสันต์ (2547) ได้ให้นิยามของ WebQuest ว่า คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิสัมพันธ์ กับผู้เรียนบนแหล่งต่างๆในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต   WebQuest  เน้นการใช้สารสนเทศ มากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ สนับสนุนผู้เรียนในขั้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า  ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้จินตนาการ และทักษะการแก้ปัญหา  โดยผู้เรียนจะต้องค้นพบคำตอบและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง  ผ่านทางเว็บไซต์ ที่ครูผู้สอนเสนอแนะอย่างมีความหมาย  Lasley, Matczynski, & Rowley (2002)     กล่าวว่า WebQuest  คือวิถีทางในการแสวงหาความรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน กิจกรรมกลุ่มนี้จะให้ผู้เรียนร่วมกันเข้าใจถึงเนื้อหาต่างๆพัฒนากระบวนการ ในการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม    อีกทั้งยังนำข้อมูลพื้นฐานที่ครูผู้สอนแนะนำจากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้   Peterson, et. al. (2003)    กล่าวว่า  WebQuest เป็นกลุ่มของข้อปัญหาและงานต่างๆ ให้ผู้เรียนได้พยายามเข้าศึกษาข้อมูล เนื้อหาต่างๆ และยังเป็นการชี้แนะให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลตามที่ครูผู้สอนได้เจาะจงแหล่งข้อมูล เว็บต่างๆ    ซึ่งสนับสนุนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการเรียนร่วมกัน (Teams in a Class)   March (2004)  กล่าวถึง WebQuest ว่าเป็นการจัดโครงสร้างในการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นโครงร่าง  (Scaffolded  Learning Structure)  โดยใช้ตัวเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งต่างๆ บนเครือข่ายเว็บทั่วโลก (World Wide Web) และมีงานต่างๆ ชักชวนให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ จากข้อคำถามนั้นๆ พัฒนาทักษะเฉพาะ และโต้ตอบกับกระบวนการของกลุ่ม ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลใหม่ๆ ไปใช้แก้ปัญหาได้ด้วยความเข้าใจ   (วสันต์  อติศัพท์,   2546)

             ดังนั้นอาจสรุปคำจำกัดความของ เว็บเควสท์ (WebQuest)  ได้ว่าเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้   โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน  ครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบ บทเรียนไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นผู้จัดกลุ่ม เรียบเรียง และลำดับความรู้ต่างๆ ให้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เข้าถึงความรู้นั้นๆ  อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน โดยมุ่งการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ  ลักษณะของ WebQuest ที่สำคัญคือ  แสดงเพียงโครงร่างเนื้อหา เป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนต้องหรือควรจะศึกษาไม่ได้มุ่งแสดงเนื้อหารายละเอียดของความรู้นั้นๆ ที่ชี้ชัดลงไปโดยตรง ดังเช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วๆ ไปที่ผู้ออกแบบได้ระบุเนื้อหาเฉพาะเพียงกรอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการเท่านั้น วิธีการของ WebQuest ในการเข้าสู่เนื้อหาความรู้ต่างๆ ได้โดยใช้ตัวเชื่อมโยง บนหน้าเว็บเพจหลัก ของกรอบโครงสร้างเนื้อหาหลัก   ที่ผู้ออกแบบจัดกลุ่ม เรียบเรียงและลำดับ     เชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้อื่นๆ ในเว็บไซต์อื่น ที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบพิจารณาเห็นว่า   มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ให้เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้วยคุณลักษณะบทเรียนแบบ WebQuest  ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือก และย่อยองค์ความรู้ต่างๆ  รวมถึงจับกลุ่มผู้เรียนด้วยกันได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับความต้องการความสามารถ ทางสติปัญญา ทั้งของตนเองและของกลุ่มได้ สนับสนุนผู้เรียนในขั้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้จินตนาการและทักษะการแก้ปัญหา โดยผู้เรียนจะต้องค้นพบคำตอบและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ที่ครูผู้สอนเสนอแนะอย่างมีความหมาย




รูปภาพการใช้งานWebquest











ที่มาhttp://www.blog.prachyanun.com/view.php?article_id=112
วันที่ี 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556
e-Book

ความหมายของ e-Book

e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe

ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1. โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer
2. โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
3. โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player



รูปภาพการทำ e-Book










ที่มาhttp://www.srb1.go.th/anuban/e_book/meanebook.htm
วันที่20 กุมภาพันธ์ พศ.2556


Blog
ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย - Wikipedia
         สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่องหรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
         Blog ส่วนใหญมักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดู
         Blog มักจะมาคู่กับระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้ คล้ายๆรูปแบบของ Webboard ไม่ว่าจะเป็นติชม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือบอกแหล่งข้อมูลใหม่ๆ หรืออาจจะแค่ทักทายเจ้าของ ฺBlog ก็เป็นได้ ถ้าคุณลองเลื่อนไปดูด้านล่างของเรื่องนี้ จะพบช่องให้กรอก Comment ทิ้งข้อความไว้ให้ผมได้ 
         Blog อาจจะมีบริการทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากมายนักโดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง แต่ในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ๆ ก็หันมามี Blog เป็นของตัวเองกันมาก ไม่ว่าจะเป็น Google , Yahoo เพราะ Blog สามารถทำตัวเป็น PR ให้กับบริษัทได้ โดยสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่มีพิธีอะไรมาก สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องเป็นทางการมากนัก และลูกค้าก็ชอบที่จะติดต่อสื่อสารผ่านทาง Blog ด้วย



รูปภาพการใช้Blog




ที่มาhttp://edclass.pn.psu.ac.th/edtech/component/content/article/37-admin/68-blog-.html
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556

e-Learning
              e-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล"คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
1 อีเลินร์นิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)

องค์ประกอบของ e-Learning 

1. ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)
ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
          2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
          3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น
ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
          4. วัดผลการเรียน (Evaluation)
งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่



รูปภาพการใช้งานe-Leaning





ที่มาาhttp://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4213:-e-learning-&catid=80:learning-organization-lo&Itemid=195
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2556